การทักทาย

 
การแต่งกายของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ


ประเทศกัมพูชา

คำทักทาย : ซัวสเด

คำขอบคุณ : ออกุน

ลักษณะการแสดงออก : การทักทายของชาวกัมพูชาจะคล้ายกับการไหว้ แต่จะโค้งศีรษะลงเพียงเล็กน้อย เอามือไว้ระดับหน้าอก

ที่มา : การทักทายถือเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญ แต่ถึงอย่างไรในเรื่องของการทักทายนั้น นักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องกังวลหากปฏิบัติผิดเพี้ยนไป ในการทักทาย

ประเทศฟิลิปปินส์

คำทักทาย : กูมุสตา

คำขอบคุณ : ซาลามัต

ลักษณะการแสดงออก : ชาวฟิลิปปินส์จะจับมือหรือโค้งคำนับ

ที่มา : คำทักทายในประเทศฟิลิปปินส์มีหลายแบบ ส่วนใหญ่ดัดแปลงมาจากภาษาอังกฤษหรือภาษาสเปน เมื่อเพื่อนทักทายกันก็เพียงแต่พูดว่า "Hi!" [ฮาย] หรือ "Hello" [เฮลโล] ถ้าทักทายผู้ที่ไม่ได้สนิทด้วยใช้ว่า Kumusta ka? [คู-มูส-ตา คา] แปลว่า คุณสบายดีหรือ ซึ่งใช้ได้ทุกเวลา คำทักทายดังกล่าวเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ในการปกครองของสเปน "Kumusta" [คู-มูส-ตา]มาจากภาษาสเปนว่า "Como Esta" [โค-โม เอส-ตา] เมื่อพูดเร็ว ๆ เสียงจะกลายเป็น "Kumusta" [คู-มูส-ตา]

ประเทศสิงคโปร์

คำทักทาย : หนีห่าว

คำขอบคุณ : เซี่ยเซี่ย

ลักษณะการแสดงออก : ชาวสิงคโปร์จะจับมือกันเบาๆ

ที่มา : ใช้การทักทายเหมือนจีน เพราะประชากรส่วนใหญ่ในสิงคโปร์เป็นชาวจีน

          ประเทศพม่า

คำทักทาย : มิงกะลาบา

คำขอบคุณ : เจซูตินบาแด

ลักษณะการแสดงออก : ชาวพม่าจะทักทายกันด้วยการจับมือ และพูดคำว่า มิงกะลาบา

ที่มา : ชาวพม่าจะกล่าวทักทายด้วยถ้อยคำ มิงกะลาบา” เฉพาะกับคนที่ไม่ค่อยรู้จักหรือ ไม่ค่อยคุ้นเคย โดยเฉพาะกับชาวต่างประเทศ ฉะนั้นหากสนิทกันบ้างแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทักทายด้วยมิงกะลาบา ก็ได้ อันที่จริงพม่าก็นิยมทักทายเหมือนๆกับคนไทยนั่นเอง คือ นิยมทักกันด้วยชื่อ พร้อมกับถามสารทุกข์สุกดิบ จึงจะดูน่าประทับใจ

ประเทศอินโดนีเซีย

คำทักทาย : ซาลามัต เซียง

คำขอบคุณ : เทอริมากาซิ

ลักษณะการแสดงออก : ชาวอินโดนีเซียทักทายกันด้วยการจับมือ

ที่มา : คำทักทายที่ใช้ในภาษาอินโดนีเซียมีทั้งคำทักทายที่ใช้ทั่วไป นอกจากนั้นยังมีคำทักทายที่ใช้ทักทายสำหรับคนที่สนิทกัน คำทักทายพื้นฐานใช้โดยทั่วไปในภาษาอินโดนีเซียจะคล้ายกับในภาษาอังกฤษ คือ จะแบ่งการทักทายไปตามแต่ละช่วงเวลาของแต่ละวัน

ประเทศมาเลเซีย

คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง

คำขอบคุณ : เตริมากะซิ

ลักษณะการแสดงออก : ผู้ชายจะจับมือทักทายกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง

ที่มา : การทักทายตามประเพณีทางศาสนาแสดงออกซึ่ง การคารวะหรือทักทาย ที่มาจากใจ ผู้มาเยือน

ประเทศบรูไน

คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง

คำขอบคุณ : เตริมากะซิ

ลักษณะการแสดงออก : บรูไนใช้ภาษาเดียวกับมาเลเซีย จึงใช้คำว่าซาลามัต ดาตัง” เหมือนกัน และยังใช้วิธีการทักทายเหมือนกันคือ ผู้ชายจับมือกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง

ที่มา : ได้รับการสืบทอดมาจากวัฒนธรรมและประเพณี ฝ่ายหญิงต้องรอให้ฝ่ายชายยื่นมือมาก่อนเพราะชายมุสลิมบางคนจะไม่สัมผัสมือผู้หญิง

ประเทศเวียดนาม

คำทักทาย : ซินจ่าว

คำขอบคุณ : ก๊ามเอิน

ลักษณะการแสดงออก : ชาวเวียดนามจะทักทายด้วยการจับมือ 2 ข้าง และเด็กๆชาวเวียดนามจะกอดอกพร้อมกับโค้งตัวลงคำนับผู้ใหญ่

ที่มา : ได้รับอิทธิพลจากจักรพรรดิจีนมาก

ประเทศลาว

คำทักทาย : สบายดี

คำขอบคุณ : ขอบใจ

ลักษณะการแสดงออก : ใช้การไหว้เป็นการทักทายเหมือนกับไทย ส่วนคำพูดที่ใช้ทักทาย

ที่มา : การไหว้เดิมนั้นมาจากการทักทายตามแบบโบราณ ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นว่าผู้ทักทายทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่มีอาวุธทั้งสิ้น ซึ่งการไหว้มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคม เพศและวัย ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งนั้นกล่าวว่า การไหว้นั้นมาจากพุทธศาสนา ซึ่งมาจากการกราบพระสงฆ์สามครั้งเหมือนแบบไทย

ประเทศไทย

คำทักทาย : สวัสดี

คำขอบคุณ : ขอบคุณ

ลักษณะการแสดงออก : ยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

ที่มา : การไหว้เดิมนั้นมาจากการทักทายตามแบบโบราณ ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นว่าผู้ทักทายทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่มีอาวุธทั้งสิ้น ซึ่งการไหว้มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคม เพศและวัย ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งนั้นกล่าวว่า การไหว้นั้นมาจากพุทธศาสนา ซึ่งมาจากการกราบพระสงฆ์สามครั้ง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น