วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ


ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้

 
1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%
จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%
พุทธ 13%คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์


จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน

ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม

2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ
ฝรั่งเศสเวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%
จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ


จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์

ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ
3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%
คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร


จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ– นิยมใช้มือกินข้าว– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้
4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%
ลาวเทิง 22%ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ
นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน– การเมืองมีเสถียรภาพ

ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก– ลาวขับรถทางขวา– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม
5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%
จีน33%อินเดีย 10%ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%
พุทธ 19%คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค

ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม
6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%
ไทยใหญ่ 8%กระเหรี่ยง 7%ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%
คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก
7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน
จีนฮกเกี้ยนจีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%
จีน33%อินเดีย 10%ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้

ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทายเลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย– ใช้ปากชี้ของ– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส

8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%
มาเลย์ 13.8%อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%
อิสลาม 14.9%คริสต์ 14.5%ฮินดู 4%ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก– แรงงานมีทักษะสูง

ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราดห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ
 
9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%
เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%
คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค

ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว
10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%
อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง

ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อยก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ– ทักทายกันด้วยการไหว้– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย
  เด็กตาโต ปิดปาก  เด็กกระพริบตา ตาลายเด็กกรอกตาเด็กใส่แว่น
 

 

การทักทาย


การทักทายของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

ประเทศกัมพูชา

คำทักทาย : ซัวสเด

คำขอบคุณ : ออกุน

ลักษณะการแสดงออก : การทักทายของชาวกัมพูชาจะคล้ายกับการไหว้ แต่จะโค้งศีรษะลงเพียงเล็กน้อย เอามือไว้ระดับหน้าอก

ที่มา : การทักทายถือเป็นจารีตประเพณีอย่างหนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญ แต่ถึงอย่างไรในเรื่องของการทักทายนั้น นักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องกังวลหากปฏิบัติผิดเพี้ยนไป ในการทักทาย

ประเทศฟิลิปปินส์

คำทักทาย : กูมุสตา

คำขอบคุณ : ซาลามัต

ลักษณะการแสดงออก : ชาวฟิลิปปินส์จะจับมือหรือโค้งคำนับ

ที่มา : คำทักทายในประเทศฟิลิปปินส์มีหลายแบบ ส่วนใหญ่ดัดแปลงมาจากภาษาอังกฤษหรือภาษาสเปน เมื่อเพื่อนทักทายกันก็เพียงแต่พูดว่า "Hi!" [ฮาย] หรือ "Hello" [เฮลโล] ถ้าทักทายผู้ที่ไม่ได้สนิทด้วยใช้ว่า Kumusta ka? [คู-มูส-ตา คา] แปลว่า คุณสบายดีหรือ ซึ่งใช้ได้ทุกเวลา คำทักทายดังกล่าวเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ในการปกครองของสเปน "Kumusta" [คู-มูส-ตา]มาจากภาษาสเปนว่า "Como Esta" [โค-โม เอส-ตา] เมื่อพูดเร็ว ๆ เสียงจะกลายเป็น "Kumusta" [คู-มูส-ตา]

ประเทศสิงคโปร์

คำทักทาย : หนีห่าว

คำขอบคุณ : เซี่ยเซี่ย

ลักษณะการแสดงออก : ชาวสิงคโปร์จะจับมือกันเบาๆ

ที่มา : ใช้การทักทายเหมือนจีน เพราะประชากรส่วนใหญ่ในสิงคโปร์เป็นชาวจีน

          ประเทศพม่า

คำทักทาย : มิงกะลาบา

คำขอบคุณ : เจซูตินบาแด

ลักษณะการแสดงออก : ชาวพม่าจะทักทายกันด้วยการจับมือ และพูดคำว่า มิงกะลาบา

ที่มา : ชาวพม่าจะกล่าวทักทายด้วยถ้อยคำ มิงกะลาบา” เฉพาะกับคนที่ไม่ค่อยรู้จักหรือ ไม่ค่อยคุ้นเคย โดยเฉพาะกับชาวต่างประเทศ ฉะนั้นหากสนิทกันบ้างแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทักทายด้วยมิงกะลาบา ก็ได้ อันที่จริงพม่าก็นิยมทักทายเหมือนๆกับคนไทยนั่นเอง คือ นิยมทักกันด้วยชื่อ พร้อมกับถามสารทุกข์สุกดิบ จึงจะดูน่าประทับใจ

ประเทศอินโดนีเซีย

คำทักทาย : ซาลามัต เซียง

คำขอบคุณ : เทอริมากาซิ

ลักษณะการแสดงออก : ชาวอินโดนีเซียทักทายกันด้วยการจับมือ

ที่มา : คำทักทายที่ใช้ในภาษาอินโดนีเซียมีทั้งคำทักทายที่ใช้ทั่วไป นอกจากนั้นยังมีคำทักทายที่ใช้ทักทายสำหรับคนที่สนิทกัน คำทักทายพื้นฐานใช้โดยทั่วไปในภาษาอินโดนีเซียจะคล้ายกับในภาษาอังกฤษ คือ จะแบ่งการทักทายไปตามแต่ละช่วงเวลาของแต่ละวัน

ประเทศมาเลเซีย

คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง

คำขอบคุณ : เตริมากะซิ

ลักษณะการแสดงออก : ผู้ชายจะจับมือทักทายกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง

ที่มา : การทักทายตามประเพณีทางศาสนาแสดงออกซึ่ง การคารวะหรือทักทาย ที่มาจากใจ ผู้มาเยือน

ประเทศบรูไน

คำทักทาย : ซาลามัต ดาตัง

คำขอบคุณ : เตริมากะซิ

ลักษณะการแสดงออก : บรูไนใช้ภาษาเดียวกับมาเลเซีย จึงใช้คำว่าซาลามัต ดาตัง” เหมือนกัน และยังใช้วิธีการทักทายเหมือนกันคือ ผู้ชายจับมือกับผู้ชาย และผู้หญิงจับมือกับผู้หญิง

ที่มา : ได้รับการสืบทอดมาจากวัฒนธรรมและประเพณี ฝ่ายหญิงต้องรอให้ฝ่ายชายยื่นมือมาก่อนเพราะชายมุสลิมบางคนจะไม่สัมผัสมือผู้หญิง

ประเทศเวียดนาม

คำทักทาย : ซินจ่าว

คำขอบคุณ : ก๊ามเอิน

ลักษณะการแสดงออก : ชาวเวียดนามจะทักทายด้วยการจับมือ 2 ข้าง และเด็กๆชาวเวียดนามจะกอดอกพร้อมกับโค้งตัวลงคำนับผู้ใหญ่

ที่มา : ได้รับอิทธิพลจากจักรพรรดิจีนมาก

ประเทศลาว

คำทักทาย : สบายดี

คำขอบคุณ : ขอบใจ

ลักษณะการแสดงออก : ใช้การไหว้เป็นการทักทายเหมือนกับไทย ส่วนคำพูดที่ใช้ทักทาย

ที่มา : การไหว้เดิมนั้นมาจากการทักทายตามแบบโบราณ ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นว่าผู้ทักทายทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่มีอาวุธทั้งสิ้น ซึ่งการไหว้มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคม เพศและวัย ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งนั้นกล่าวว่า การไหว้นั้นมาจากพุทธศาสนา ซึ่งมาจากการกราบพระสงฆ์สามครั้งเหมือนแบบไทย

ประเทศไทย

คำทักทาย : สวัสดี

คำขอบคุณ : ขอบคุณ

ลักษณะการแสดงออก : ยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

ที่มา : การไหว้เดิมนั้นมาจากการทักทายตามแบบโบราณ ซึ่งเป็นการแสดงออกให้เห็นว่าผู้ทักทายทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่มีอาวุธทั้งสิ้น ซึ่งการไหว้มีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคม เพศและวัย ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งนั้นกล่าวว่า การไหว้นั้นมาจากพุทธศาสนา ซึ่งมาจากการกราบพระสงฆ์สามครั้ง




การแต่งกาย


การแต่งกายของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ


การแต่งกายของบรูไน


สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนของชุดผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรัง (Baja Kurung) คล้ายกับชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสโดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงหัวเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง

การแต่งกายของกัมพูชา



ซัมปอต (Sampot) เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา สำหรับชุดผู้หญิง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย มีหลายหลายรูปแบบ สำหรับผู้ชายนั้นมักสวมใส่เสื้อที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายทั้งแขนสั้นและแขนยาว พร้อมทั้งสวมกางเกงขายาว

การแต่งกายของอินโดนีเซีย



เคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติกสำหรับการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด

การแต่งกายของลาว




ผู้หญิงลาวจะนุ่งผ้าซิ่น และเสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากลหรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุกเจ็ดเม็ดคล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

การแต่งกายของมาเลเซีย


สำหรับชุดของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Beju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย สำหรับชุดของผู้หญิง เรียนกว่า บาจูกุรุง (Baja Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาว

การแต่งกายของฟิลิปปินส์


ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารองตากาล็อก ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใย    สัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก

การแต่งกายของสิงคโปร์


สิงคโปรไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนขาว คอจีน เสื้อผ้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้

การแต่งกายของไทย


สำหรับชุดผู้หญิงคือ ชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัวซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหาก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวยใช้เครื่องประดับได้งดงาม สมโอกาสในเวลาค่ำคืน สำหรับชุดผู้ชายคือ ใส่เสื้อพระราชทาน

การแต่งกายของเวียดนาม

อ่าวหญ่าย เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขาวยาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวม ใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศมีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าหญ่ายในพิธีแต่งานหรือพิธีศพ

การแต่งกายของพม่า


ลองยี เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่า โดยมีการออกแบบในรูปทรงกระบอก มีความยาวจากเอวจรดปลายเท้า การสวมใส่ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึงหัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่




อาหาร

อาหารอาเซียน อาหารประจำชาติอาเซียน

การรวมกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประชาคมอาเซียนนอกจากจะเป็นการขยายสมาคมทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มคามเข้มแข็งให้กับทุกประเทศแล้ว ยังถือว่าเป็นโอกาสอันนี้ที่จะได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศกัน ดังนั้นเรื่องอาหารการกินจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะทุกประเทศต่างอยากที่จะได้ลิ้มลองของเลื่องชื่อของประเทศภายในกลุ่มสมาชิก ในวันนี้เราจึงได้รวบรวมเอาอาหารประจำชาติของแต่ละประเทศมาฝากเพื่อน เผื่อเพื่อนๆคนไหนได้ไปเที่ยวจะได้หากินของเลื่องชื่อได้ถูก เรามาเริ่มต้นกันเลย

1.ประเทศไทย


ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) อาหารขึ้นชื่อที่สุดของประเทศไทยของเรา ซึ่งจริงๆแล้วในประเทศไทยมีอาหารรสชาติเยี่ยมยอดและขึ้นชื่ออยู่มากมาย แต่ถ้าจะให้เลือกอาหารที่ขึ้นชื่อและนักท่องเที่ยวต่างประเทศชอบกินกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้นต้มยำกุ้ง ด้วยรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว และจี๊ดจ๊าด รวมกับกุ้งแม่น้ำและเครื่องแกงทั้ง ขา ตะไคร้ ใบมะกรูด ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนเมืองไทยต้องได้ลิ้มลองกันทุกคน และเมื่อได้ลิ้มลองทุกคนก็ต่างพากันติดใจและพร้อมที่กลับมาลิ้มลองอีกครั้ง

2.ประเทศกัมพูชา


อาม็อก (Amok) อาหารยอดนิยมของประเทศกัมพูชา ที่ไม่ว่าใครจะไปเยือนต้องได้ลิ้มลอง อาม็อกดูไปดูมาก็มีหน้าตาคล้ายๆกับห่อหมกบ้านเรา เป็นอาหารที่ทำมาจากเนื้อปลาสดๆที่นำมาลวกกับเครื่องแกงและกะทิ แล้วจึงนำไปนึ่งให้สุก ซึ่งโดยปกติแล้วปลาจะเป็นอาหารหลักของชาวกัมพูชาเพราะหาได้ง่ายตามแม่น้ำลำคลองที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ แต่ในบางครั้งก็อาจใช้ไก่แทนได้ในบางที่  

3. ประเทศบรูไน


อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารที่พลาดไม่ได้เมื่อเดินไปเยือน เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาคู มีลักษณะคล้ายๆข้าวต้มหรืโจ๊ก ตัวแป้งจะไม่มีรสชาติจึงต้องทานคู่กับซอสผลไม้ และต้องมีเครื่องเคียงตามชอบ เช่น ผักสด เนื้อย่าง เนื้อทอด ปลาย่าง และที่สำคัญต้องทานเวลาร้อนๆเท่านั้นจึงจะอร่อยและได้รสชาติที่แท้จริง

4. ประเทศพม่า


หล่าเพ็ด ( Lahpet ) อาหารเพื่อสุขภาพที่พลาดไม่ได้ของประเทศพม่า มีลักษณะคล้ายๆกับเมี่ยงคำของประเทศไทย เป็นอาหารที่ทำจากใบชาด้วยการนำมาหมัก ทานคู่กับกระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่างๆ กุ้งแห้ง งา มะพร้าวคั่ว ซึ่งเหล่าเห็ดจะเป็นอาหารที่สำคัญในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญของประเทศพม่า ถ้าขาดไปถือว่าขาดความสมบูรณ์แบบไปเลยก็ว่าได้

5. ประเทศฟิลิปปินส์


อโดโบ้ (Adobo) อาหารยอดนิยมที่ต้องลิ้มลองของประเทศฟิลิปปินส์ อโดโบ้ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ โดยผ่านการหมักและปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ชีอิ๊วขาว ใบกระวาน กระเทียม พริกไทยดำ จากนั้นนำไปอบหรือทอด ทานกับข้าวสวยร้อนๆ ถือว่าเป็นอาหารที่น่าสนใจมากถ้าได้มีโอกาสไมปเยือน

6. ประเทศสิงคโปร์


ลักซา (Laksa) อาหารที่ได้รับความนิยมที่สุดในสิงคโปร์ ซึ่งลักซาจะมีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำมี 2 รูปแบบคือ แบบไม่ใส่กะทิ และแบบใส่กะทิ ซึ่งแบบใส่กะทิจะนิยมมากกว่า เพราะรสชาติจะเข้มข้นแบบแกงกะทิบ้านเรา ดูไปดูมาก็อาจจะคล้ายๆกับข้าวซอยทางภาคเหนือ แต่ลักซาจะมีส่วนประกอบเป็น กุ้ง หอยแครง จึงเหมาะกับคนทีชอบทานอาหารทะเล


7. ประเทศอินโดนีเซีย


กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารเพื่อสุขภาพยอดนิยมของอินโดนี้เซีย เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยผักและธัญพืชนานาชนิด ทั้งถั่วชนิดต่างๆ มันฝรั่ง แครอท และยังมีเต้าหู้และไข่ต้มสุกอีกด้วย โดยกาโด กาโดจะรับประทานคู่กับซอสถั่วที่มีลักษณะคล้ายๆกับซอสหมูสะเต๊ะ ซึ่งในซอสจะมีส่วนประกอบของสมุนไพรอยู่ด้วยทำให้ไม่เลี่ยนกะทิเวลารับประทาน

8. ประเทศลาว


สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) สลัดสุดอร่อยของประเทศลาว ที่มีรสชาติลงตัวสามารถรับประทานได้ทั้งชาวตะวันตก และตะวันออก ซึ่งส่วนประกอบก็จะคล้ายกับสลัดถั่วไปคือ แตงกวา มะเขือเทศ ผักกาดหอม แต่จะพิเศษตรงที่จะเพิ่มผักน้ำ ซึ่งเป็นผักพื้นบ้านที่มีเฉพาะในประเทศลาวเท่านั้น ทานคู่กับไข่ต้มและหมูสับลวกสุก ราดด้วยสลัดน้ำใสพร้อมโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียวและถั่วลิสงคั่ว

9. ประเทศมาเลเซีย


นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารขึ้นชื่อของประเทศมาเลเซีย เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง คือ แตงกวาหั่น ถั่วอบ ไข่ต้มสุก และปลากะตักทอดกรอบ เมื่อก่อนอาหารชนิดนี้นิยมทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบันเป็นอาหารที่ทานกันในทุกมื้อและสามารถหาทานได้ง่าย รวมทั้งภาคต้ของประเทศไทยด้วย

10. ประเทศเวียดนาม


เปาะเปี๊ยะเวียดนาม (Vietnamese Spring Rolls) อาหารที่ขึ้นชื่อมากเพราะในประเทศไทยเองก็มีขายกันอย่างแพร่หลาย ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนามจะอยู่ที่แป้งที่ทำมาจากข้าวเจ้า แล้วนำมาห่อกับเนื้อสัตว์ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หมูยอ หรือจะนำมารวมกันก็ได้ บวกกับผักสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น ผักกาดหอม สะระแหน่ ทานคู่กับน้ำจิ้มหวานโดยในน้ำจิ้มสามารถเพิ่มแครอทซอย ไชเท้าซอย และถั่วคั่วได้ตามต้องการ